การอบรมปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก์:

การอบรมปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก์: การนิเทศผ่าน ICT ระหว่างวันท่ี  6-7 มิถุนายน  2556 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาราชบุรี  เขต 1 ภาพกิจกรรม

 

 

By sasikan1960

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖

การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  

            ปีการศึกษา ๒๕๕๖  โรงเรียนต้องใช้   ๑๑  มาตรฐาน  ๕๑  ตัวบ่งชี้  ระดับการศึกษาปฐมวัย

original_pictu

และ  ๑๕  มาตรฐาน  ๖๕  ตัวบ่งชี้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประกันภายในของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเริ่มที่ครู

ในเรื่องของมาตรฐานหลักสูตร  สู่มาตรฐานประกันภายในของสถานศึกษา

ครูต้องมี ๓  องค์ประกอบของระบบการประกันที่เข้มแข็ง

๑.     ความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบประกัน

๒. ความเชื่อที่ถูกที่เหมาะที่ควร

๓. ทำงานอย่างต่อเนื่อง

หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในขั้นพื้นฐาน  ที่โรงเรียนต้องยึดถือปฏิบัติ คือ

๑.     กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(ใช้๑๕มาตรฐานโดยปรับเปลี่ยน

ในเรื่องอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ให้เป็นภาพของโรงเรียนให้ชัดเจนและเพิ่มจุดเน้นของเขตพื้นที่เข้าไปด้วยก็ได้)

๒.   จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน

การศึกษาของสถานศึกษา

๓. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ

๔. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

๕. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

๖.  จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๗. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

๘. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  สรุปได้ดังนี้

๑. ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาแต่ละปีควรจะเอาผลการประเมิน  O-NET  NT และ Las มาใช้ ใส่ในแผนฯด้วย

๒.  ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนพัฒนาการจัดการศึกษา

องค์ประกอบในการทำแผนพัฒนาประจำปีของโรงเรียน

๑. ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

๒. นำผลการประเมินภายในมาใช้ในการทำแผน

๓. ใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า

๔.ใช้แหล่งเรียนรู้และวิทยากรภายนอก

 

คำสำคัญ สี่คำ  ในการเขียนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

                   ๑. วิสัยทัศน์ ในอนาคตช่วง ๓ – ๕ ปี หรือ ๑ ปี

๒. ปัจจุบัน  จุดแข็ง  จุดอ่อน  อุปสรรค

๓. พันธกิจ  กำหนดว่าจะทำอะไรบ้าง

๔. กลยุทธ์ (แผนงาน/โครงการ  ต้องทำอะไรบ้าง)

ในการเขียนแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ต้องใช้วงจร PDCA  (ฝ่ายบริหาร)  ผู้ปฏิบัติ (ครู)  ผู้ตรวจสอบ (กรรมการสถานศึกษาหรืออื่น ๆ )               

                  ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา

๑.  แต่งตั้งคณะทำงาน

๑.๑  กรรมการสถานศึกษา

๑.๒  ผู้แทนครู / ผู้ปกครอง

๒.  ข้อมูลของปีที่ผ่านมา

๓.  วิเคราะห์สภาพหาจุดเด่น/จุดด้อย/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข

๔.  โครงการ/กิจกรรม

๕.  การกำกับ  ติดตาม  ประเมินผล

๖.  เอาผลการประเมินจากเขตพื้นที่ (ผลการประเมินตนเอง SAR) มาใส่ด้วย

๗.  ภาคผนวก

By sasikan1960

น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล

images (2)         9 มิถุนายน “วันอานันทมหิดล” วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในวันนี้ปวงชนชาวไทยต่างน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณา ธิคุณ พระเมตตาธิคุณอันมีเป็นอเนกประการ และจากพระราชปรารภความสำคัญตอนหนึ่งว่า …ทรงต้องการให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น ให้เพียงพอที่  จะช่วยเหลือประชาชน… เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้แก่แพทย์และพยาบาล ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489

จากพระราชปรารภดังกล่าว รัฐบาลขณะนั้นได้อนุมัติงบประมาณให้แก่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อสนองพระราชปรารภ ในการขยายการศึกษาแพทยศาสตร์ของประเทศไทยให้สามารถผลิตแพทย์เพิ่ม ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การศึกษาแพทย์ของประเทศไทยในขณะนั้นมีอยู่เพียงแห่งเดียว คือที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถรับนักศึกษาแพทย์อย่างมากได้เพียงปีละ 50 คนและเนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีสถานที่จำกัด ไม่สามารถขยายเพิ่มขึ้นได้พอตามที่ต้องการ อีกทั้งการจะรับนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงการขยายหรือการไปสร้างโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง เกินกำลังของรัฐบาลสมัยนั้นซึ่งสูญเสียงบประมาณจากการเข้าร่วมทำสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อมีการพิจารณาไตร่ ตรองอย่างรอบคอบ หลวง เฉลิมคัมภีรเวชช์ (ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส) ผู้บัญชาการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขณะนั้นได้ตัดสินเลือกใช้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยซึ่งเคยเป็น โรงเรียนการแพทย์ทหารบกมาก่อนสามารถใช้ฝึกฝนนักศึกษาแพทย์ทางคลินิกได้เป็นอย่างดี จึงติดต่อกันเพื่อเปิดโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ขึ้น และด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดี คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นตามพระราชปรารภ โดยใช้ สถานที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดการเรียนการสอน8517972

พระราชปรารภในการผลิตแพทย์เพิ่มได้บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อมี พระราชกฤษฎีกา ประกาศตั้ง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยา บาลจุฬาลงกรณ์ ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ซึ่งมีผลในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยมี พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (นพ. ชื่น พุทธิแพทย์) เป็นคณบดีท่านแรก จากนั้นได้โอนมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน

จากพระราชปรารภที่อำนวยผลให้บังเกิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นมา สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้ดำเนินการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ผู้พระราชทานกำเนิดแพทย์จุฬาฯ ขึ้นไว้เป็นที่เคารพบูชาสักการะและรำลึกในพระมหา เมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิ  คุณ โดยได้รวบรวมเงินจากการบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯทุกรุ่น ดำเนินการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ เฉลิมพระเกียรติ ทั้งยังเป็นการเฉลิม  พระเกียรติยศให้ประชาชนทั่วไปได้รำลึกถึงสืบไป

พระบรมราชานุสาวรีย์ออกแบบและปั้นโดยคุณไข่มุกด์ ชูโต พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง อยู่ในท่าประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย พระบรมรูปและพระเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง ปัจจุบันพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่ที่ ตึกอานันทมหิดล คณะแพทย ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา  ลัย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และเมื่อถึงวันนี้ 9 มิถุนายนของทุกปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน นำพวงมาลามาน้อม เกล้าฯ ถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์เป็นประจำ  ทุก ๆ ปีเสมอมา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสู่สวรรคาลัย ขณะทรงเจริญพระชนมพรรษาเพียง 21 พรรษาในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นำความเศร้าโศกเสียใจอาลัยยิ่งมาสู่ปวงชนชาวไทยทุกคน

แต่ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดพสกนิกรชาวไทยทุกคนยังคงจดจำรำลึกในพระราชจริยาวัตร พระราชอัจฉริยภาพ พระมหาเมตตาธิคุณ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิ คุณในการพระราชทานกำเนิด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันช่วยอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ช่วยเหลือ ป้องกันรักษาให้ห่างหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง

วันอานันทมหิดลวันนี้นับเป็นอีกวันที่ประชาชนจะได้ร่วม น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิ  คุณ เฉลิมพระเกียรติพระองค์ ให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

เข็มกลัด “วันอานันทมหิดล”

ในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันท   มหิดล พระอัฐม รามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผู้พระราชทานกำเนิดแพทย์จุฬาฯ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำ เข็มกลัด “วันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2551 อัญเชิญภาพ  พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ จัดวาง บนพื้นสีเหลืองเนื่องด้วยปีนี้ วันที่ 9 มิถุนายนตรงกับวันจันทร์

การจัดทำเข็มกลัด “วันอานันทมหิดล” ครั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระอัฐมรามาธิบดินทร ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อันมีเป็นอเนกประการ โดยไม่ทรงคำนึงถึงความเหนื่อยยาก นอกจากนี้ยังเป็นการหารายได้สมทบมูลนิธิอานันทมหิดล และ ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยา บาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งสามารถบริจาค-รับเข็มกลัด “วันอานันทมหิดล” ได้ ที่ โรงพยาบาลจุฬาลง กรณ์: ตึกภปร, ตึก อปร, ตึกอานันทมหิดล, ตึกวชิรญาณวงศ์, ศาลาทินฑัต จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขาทั่วประเทศ บริจาคกับนิสิตแพทย์จุฬาฯซึ่งจะออกขอรับ ณ ศูนย์การค้า ธนาคาร โรงพยาบาล และ กระทรวงต่างๆ ส่วนต่างจังหวัดร่วมบริจาค-รับเข็ม ได้ที่ ศาลากลางจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด-โรงพยาบาลจังหวัด ทั่วประเทศ

By sasikan1960